ตำนานรัก! กองทัพเรือช่วยหนุ่มเวียดนาม พายเรือไปอินเดีย หาเมีย

ตำนานรัก! กองทัพเรือช่วยหนุ่มเวียดนาม พายเรือไปอินเดีย หาเมีย

กองทัพเรือได้เข้าช่วยเหลือ หนุ่มเวียดนาม พายเรือไปอินเดีย หาภรรยา โดยเขาลอยอยู่กลางทะเลมาแล้ว 18 คืนและอยู่ห่างจากฝั่งถึง 80 กิโลเมตร กองทัพเรือภาคที่ 3 ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก เล่าเรื่องสุดประทับใจของชายเวียดนามที่พยายามพายเรือยางไปหาภรรยาที่อยู่ประเทศอินเดีย โดยจุดที่เจ้าหน้าที่ห่างฝั่งถึง 80 กิโลเมตร

โดยทางกองทัพเรือเล่าว่า “ทัพเรือภาคที่ 3 โดย 

หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะสิมิลัน (นรภ.ทร.เกาะสิมิลัน) ได้รับแจ้ง จากนายปัญญา เพิ่มวงศ์นิติกร นายท้ายเรือประมงชื่อ ต.ครองเพชรรุ่งเรือง ว่าพบบุคคลไม่ทราบสัญชาติ เพศชาย อยู่บนเรือยางเป่าลมสีเหลือง-ฟ้า ขนาดประมาณความยาวประมาณ 2.5 ม. บนเรือมีถังน้ำดื่ม และกระเป๋าเดินทาง ลอยเรืออยู่ในทะเลลำเดียว บริเวณพิกัด Lat 8°36.6997 N Long 97°32.9237 E ทิศตะวันตกของเกาะสิมิลันประมาณ 14 กม. หรือ ห่างฝั่งจังหวัดพังงา กว่า 80 กม. เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากคลื่นลมแรงในทะเล เพราะอยู่ห่างจากฝั่งมาก

จนท.นรภ.ทร.ก.สิมิลัน ร่วมกับ จนท.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ออกเดินทางด้วยเรือยางพื้นแข็งเข้าตรวจสอบตามตำบลที่ได้รับแจ้ง โดยในเวลา 12.45 น. ได้เดินทางมาถึงเรือประมง ต.ครองเพชรรุ่งเรือง และพบว่าลูกเรือกำลังช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวด้วยการผูกเรือยางเป่าลมไว้ที่บริเวณท้ายเรือ

จากการเข้าตรวจสอบทราบชื่อ Mr.HO HOANG HUNG อายุ 37 ปี สัญชาติเวียดนาม สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ ในเรือมีอาหารแห้งประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ประมาณ 10 ห่อ และถังบรรจุน้ำดื่มเหลือเพียงเล็กน้อย

ทัพเรือภาคที่ 3 จึงได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ล่ามกรมข่าวทหารเรือ เพื่อสัมภาษณ์สอบถามข้อมูลทางโทรศัทพ์ ทราบว่าเจ้าตัวมีความตั้งใจจะพายเรือยางไปหาภรรยาซึ่งเป็นชาวอินเดียที่เมืองมุมใบ ประเทศอินเดีย ซึ่งได้แต่งงานกันเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ต้องห่างกันเพราะ COVID-19

โดยได้เดินทางด้วยเครื่องบินจากกรุงไซง่อน ประเทศเวียดนาม มาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ต่องการต่อเครื่องไปประเทศอินเดีย แต่ไม่มีวีซ่าเข้าประเทศอินเดีย จึงได้ตัดสินใจนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพมหานครมาที่จังหวัดภูเก็ต ก่อนที่จะจัดหาเรือยางเป่าลม และพายออกมาจากฝั่งจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ประมาณวันที่ 5 มีนาคม 2565 ที่หมายชายฝั่งประเทศอินเดีย ระยะทางประมาณ 2,000 กม. โดยในวันนี้ที่เรือประมงมาพบนั้น ได้ลอยเรือในทะเลมา 18 คืน

จนท. จึงได้นำบุคคลดังกล่าว พร้อมเรือยางมายังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการต่อไป

ทัพเรือภาคที่ 3 มีความห่วงใยทุกชีวิตในทะเลอันดามัน และขอขอบคุณชาวประมงที่แจ้งข่าวให้เราได้เข้าช่วยเหลือชายผู้นี้ ผู้ซึ่งมีหัวใจอันยิ่งใหญ่ ที่พร้อมจะเสี่ยงชีวิตออกเดินทางพายเรือยางลำเล็กๆ ข้ามมหาสมุทรอินเดียอันกว้างใหญ่ไพศาลและอันตรายยิ่งนัก เพื่อที่จะไปพบหน้าภรรยาที่ตนรัก”

ช็อก! ไทย พบผู้ป่วย ‘เดลตาครอน’ แล้ว 73 ราย แต่หายหมดแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เผย ประเทศไทย พบผู้ป่วย เดลตาครอน แล้ว 73 ราย ชี้หายหมดแล้ว ยังไม่มีรายงานว่ารุนแรงหรือแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นไหม นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาแถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย นพ.ศุภกิจ ระบุว่า

ความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ระบุว่าการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดขณะนี้เป็นสายพันธุ์โอไมครอน โดยเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากกว่า BA.1

ขณะที่จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวกว่า 500 ตัวอย่างทุกสัปดาห์ เมื่อแยกย่อยไปในสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน BA.2.2 พบว่า ในไทยติดเชื้อ 22 ราย และ BA.2.3 ติดเชื้อ 61 ราย นอกจากนี้ยังพบคนไทยติดโควิดสายพันธุ์ผสมเดลตาและโอไมครอน หรือ ‘เดลตาครอน’ 73 ราย และได้ส่งรายงานไปยัง GISAID แล้ว

โดยคนไข้ทั้ง 73 รายหายเรียบร้อยดีแล้ว ไม่มีเสียชีวิต อาจจะเป็นพันธุ์ผสมอันหนึ่งที่ไม่ได้หนักหนา และถ้าไม่แพร่เร็ว อีกสักระยะก็จบ และแม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์หนักแต่ไม่แพร่เร็วเหมือนเบตาก็จะหายไป

ขณะนี้ทั่วโลกมีการส่งรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนให้ GISAID แล้วกว่า 4,000 ราย แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทาง GISAID มีรายงานว่าตรวจสอบแล้ว 64 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส 50 กว่าราย ส่วนที่เหลือกว่า 4,000 รายอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ยังจัดชั้นให้ ‘เดลตาครอน’ เป็นเพียงสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม ยังไม่พบข้อมูลว่าการแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นหรือไม่ เช่นเดียวกับความรุนแรงและการหลบภูมิของสายพันธุ์นี้ยังไม่มีรายงานว่ารุนแรงหรือหลบภูมิมากกว่าสายพันธุ์อื่นเช่นกัน

โดยทาง สธ. มีการเฝ้าระวังอยู่ และขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด และเร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 หรือ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรืออยู่ในกลุ่ม 8 โรคเสี่ยง